เทคโนโลยีการสื่อสาร

ระบบสื่อสารวิทยุคมนาคมระบบ ทรั้งค์

      ระบบวิทยุคมนาคมระบบ ทรั้งค์ เป็นเครือข่ายวิทยุสื่อสาร ที่มีการทำงานคล้ายกับระบบโทรศัพท์เคลื่อนที่นั่นเอง จะมีสถานีกลาง (System Control) ทำหน้าที่จัดช่องสัญญาณให้มีจำนวนช่องสัญญาณเพียงพอในการรองรับการใช้งานของเครื่องลูกข่ายทั้งหมดในระบบ มีสถานีทวนสัญญาณ (Repeater Station) ทำหน้าที่เชื่อมโครงข่ายให้ครอบคลุมพื้นที่ของเครือข่ายนั้นๆ และเลือกช่องสัญญาณที่ว่างอยู่ให้ลูกข่ายโดยอัตโนมัติ อีกทั้งสามารถเรียกเฉพาะเครื่องลูกข่ายที่ต้องการติดต่อได้ และมีระบบการสื่อสารเฉพาะกลุ่ม (Private Call) โดยเฉพาะอย่างยิ่งมีระบบการเชื่อมต่อระบบโทรคมนาคมอื่น (PCM Switch) และมี โปรโตคอล MPT 1327 เป็นที่นิยมที่สุดในปัจจุบัน นี่เป็นภาพรวมพอเข้าใจระบบ วิทยุ ทรั้งค์ จะเห็นว่ามันก็คือ เซลลูลาร์ ชนิดหนึ่งนั่นเอง เพียงแต่ว่า “ไม่เสียค่า แอร์ไทม์” 

        ภาพสถานีทวนสัญญาณ วิทยุ ทรั้งค์ ด้านบนกลมๆ สีดำบนชั้น Rack เป็น Duplexer ทำหน้าที่แยกภาครับส่งของสายอากาศ กล่องสีดำรองลงมาคือ Repeater ส่วนกล่องสีขาวตรงกลางคือ PCM Switch และกล่องสีดำล่างกล่องขาวคือ Controller ส่วนกล่องดำล่างสุดเป็นภาคจ่ายไฟฟ้า และสำรองไฟฟ้า 
        โดยที่การสื่อสารผ่านคลื่นวิทยุทรั้งค์ จะประกอบไปด้วยข้อมูลต่าง ได้แก่
       o VOICE PLUS DATA เป็นระบบที่สนับสนุนการสื่อสารสัญญาณเสียงและรับ-ส่งข้อมูล ซึ่งต้องเป็นการติดต่อผ่านสถานีแม่ข่ายเท่านั้น
       o PACKET DATA OPTIMIZED เป็นระบบที่ออกแบบมาเพื่อการรับ-ส่งข้อมูลแบบ PACKET โดยเฉพาะ เช่น การเข้าถึงโครงข่ายอินเทอร์เน็ต หรือระบบควบคุม
       o DIRECT MODE หรือการติดต่อสื่อสารระหว่างลูกข่ายโดยตรง ไม่ผ่านการจัดการจากหน่วยจัดการกลาง ซึ่งโดยปกติจะใช้เมื่ออยู่นอกพื้นที่ให้บริการของสถานีแม่ข่าย หรือกำหนดเพื่อต้องการความปลอดภัยในระดับสูง
       ตัวอย่าง Supported regional link options
       Traditional 2/4 Wire - 64Kbit - Microwave links - Digital UHF radio links - T1/E1 - TCP/IP
       
       ในยุคต้น ระบบ TRUNKED RADIO และ CONVENTIONAL LAND MOBILE เป็นเทคโนโลยีแบบ อะนาลอก ซึ่งไม่มีความปลอดภัยหรือเป็นส่วนตัวมากนัก อีกทั้งยังเป็นการใช้ความถี่วิทยุที่ค่อนข้างจะสิ้นเปลือง แต่ในปัจจุบันได้มีการพัฒนาระบบเหล่านี้เป็นระบบดิจิทัล ซึ่งนับได้ว่าเป็นระบบที่มีความเป็นส่วนตัว และมีความปลอดภัยของข้อมูลสูง ที่สำคัญเป็นเทคโนโลยีที่สามารถบริหารจัดการการใช้ความถี่วิทยุได้มีประสิทธิภาพมากขึ้น นอกจากนี้การพัฒนาไปสู่ระบบดิจิทัลยังสามารถรวมเอาคุณสมบัติการสื่อสารทั้งแบบ TRUNKED RADIO และ CONVENTIONAL LAND MOBILE เข้าด้วยกันได้ โดยเรียกว่าระบบ DIGITAL TRUNKED RADIO
       
       วิทยุคมนาคมระบบ ทรั้งค์ ในประเทศไทยใช้สำหรับติดต่อภายในกลุ่มองค์กรใหญ่หรือหน่วยงานราชการ ปัจจุบันได้มีการพัฒนาเทคโนโลยีให้เป็นระบบดิจิตอลแล้ว ก็ได้มีการพัฒนาความสามารถของระบบให้หลากหลายยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะเป็นความสามารถที่ลูกข่ายสามารถติดต่อกันเองได้โดยไม่ต้องผ่านการควบคุม และจัดการโดยสถานีแม่ข่าย หรือแม้แต่การเพิ่มความสามารถในการรองรับ-ส่งภาพเคลื่อนไหวแบบ Multi media ได้ รวมถึงการเชื่อมต่อ อินเทอร์เน็ต ได้ ทั้งนี้เทคโนโลยีต่างๆ ได้มีการพัฒนาที่แตกต่างกันไปในทางเทคนิค แต่ยังคงมีเป้าหมายของการพัฒนาที่เป็นไปในแนวทางเดียวกัน นั่นคือระบบโทรคมนาคมที่ตอบสนองความต้องการของมนุษย์ได้มากที่สุด 

        ปัจจุบันมีย่านความถี่สำหรับใช้งานระบบวิทยุ ทรั้งค์ หลายย่านความถี่ และมีความต้องการใช้งานหลายหน่วยงาน ทั้งราชการ รัฐวิสาหกิจ และเอกชน เป็นจำนวนมาก อาทิเช่น ตำรวจ ทหาร กรมการปกครอง การไฟฟ้า การประปา โรงพยาบาล วิทยุการบิน หรือแม้แต่ ระบบวิทยุแท็กซี่ เป็นต้น
       
       ในอดีตแผนความถี่สำหรับวิทยุ ทรั้งค์ สำหรับประเทศไทย มีเพียง แผนความถี่วิทยุ Trunked Radio ย่านความถี่ 800 MHz ซึ่งได้จัดทำขึ้นโดย กรมไปรษณีย์โทรเลข เมื่อ กุมภาพันธ์ 2535 เพียงฉบับเดียว ปัจจุบัน กทช. ได้ยกร่างแผนความถี่ วิทยุทรั้งค์ ไว้ถึง 5 ย่านความถี่ และกำลังเตรียมการจัดทำประชาพิจารณ์แผนความถี่วิทยุดังกล่าว
       
       ซึ่งการจัดทำแผนความถี่วิทยุคมนาคมระบบ ทรั้งค์ หรือ Trunked Radio Frequency Plan ทั้ง 5 ย่านความถี่ ได้แก่
       o ย่านความถี่วิทยุ 380-399.9 MHz
       o ย่านความถี่วิทยุ 421.8-422.95 / 433.8-434.95 MHZ
       o ย่านความถี่วิทยุ 484-489 / 494-499 MHZ
       o ย่านความถี่วิทยุ 806-821 / 851-866MHZ
       o ย่านความถี่วิทยุ 821-824 / 866-869MHZ
       
       โดยในแผนความถี่วิทยุคมนาคมระบบ ทรั้งค์ ประกอบไปด้วย การกำหนดช่องสัญญาณและคู่ความถี่วิทยุ การกำหนดกลุ่มช่องสัญญาณ รวมถึงเงื่อนไขการใช้งานบริเวณชายแดนไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน ทั้งนี้ เพื่อเป็นการหลีกเลี่ยงการรบกวนที่อาจเกิดขึ้นได้ทั้งภายในข่ายสื่อสารของตนเอง และข่ายสื่อสารอื่นๆ
       
       บางเงื่อนไขที่น่าสนใจกับการใช้งานบริเวณชายแดน
       ที่น่าสนใจคือ ไทย และ มาเลเซีย ซึ่งได้มีคณะกรรมการประสานงานการใช้ความถี่บริเวณของทั้งสองประเทศได้มีข้อตกลง และความสัมพันธ์ที่ดีมายาวนาน โดยย่านความถี่ 380-399.9 MHz ในบริเวณชายแดนไทยกับประเทศมาเลเซีย มีการแบ่งกลุ่มความถี่วิทยุ ดังนี้
       
       o ช่วงความถี่วิทยุ 380.00-382.50/390.00-392.50 MHz และช่วงความถี่วิทยุ
       385.00-387.50/395.00-397.50 กำหนดสำหรับฝ่ายไทย 

        Spectrum Allocation for Digital Trunked Radio (Thailand-Malaysia common border) 
“วิทยุสื่อสาร ระบบ ทรั้งค์แบบ ดิจิทัล” โทรคมนาคมที่มีอนาคตดีอีกระบบหนึ่ง
        แนวโน้มธุรกิจที่น่าสนใจเกี่ยวกับวิทยุ ทรั้งค์ ก็อย่างเช่น วิทยุรถแท็กซี่ หลายคนอาจจะมองผ่านไป แต่ลองนึกถึงค่าสมาชิกศูนย์แท็กซี่ 500 บาทต่อเดือนและคูณด้วยจำนวนรถแท็กซี่นับแสนคัน นั่นคือรายได้ต่อเดือน ระบบวิทยุทรั้งค์นั้นก็เป็นช่องทางการสื่อสารทางหนึ่งที่สามารถเติมเต็มบริการพิเศษต่างๆ ได้ อาทิเช่น การประยุกต์ GPS ติดรถยนต์เพื่อใช้ในการ tracking ติดตามรถ และสามารถควบคุมอุปกรณ์ระยะไกลได้เช่น สั่งดับเครื่องรถได้หากถูกขโมย หรือแท็กซี่โดนจี้อาจจะแอบกดปุ่มขอความช่วยเหลือแล้ว GPS ส่งข้อมูลผ่านทรั้งค์ไปแสดงผลที่ศูนย์วิทยุ นอกจากวิทยุแท็กซี่แล้วอาจจะมีการวางระบบ วิทยุ ทรั้งค์ทั่วประเทศเพื่อติดตามรถบรรทุก หรือใช้ในการเชื่อมต่อระบบโทรคมนาคมของหน่วยงานต่างๆ เพราะข้อสำคัญที่สุดของทรั้งค์คือ การลงทุนวางเครือข่ายมีราคาถูกมาก ถ้าไม่มีการคอรัปชั่น และลักษณะการใช้งานไม่เสียค่าแอร์ไทม์ลงทุนอุปกรณ์ครั้งเดียว บำรุงรักษาไม่ยาก เพราะวิทยุทรั้งค์นั้น ความทนทานของอุปกรณ์ส่วนมากผ่านการทดสอบแบบมาตรฐานหฤโหดที่กองทัพอเมริกันตั้งไว้ ย่านความถี่วิทยุทรั้งค์นั้นคาดว่ามีเหลือมากมาย และการพยายามหาเทคโนโลยีโทรคมนาคมที่มีประสิทธิภาพที่สุดมาใช้งาน นั่นก็คือการบริหารทรัพยากรโทรคมนาคมของชาติให้เกิดประโยชน์สูงสุดเช่นกัน

ข้อดี
คือ การลงทุนวางเครือข่ายมีราคาถูกมาก ถ้าไม่มีการคอรัปชั่น และลักษณะการใช้งานไม่เสียค่าแอร์ไทม์ลงทุนอุปกรณ์ครั้งเดียว บำรุงรักษาไม่ยาก

ข้อเสีย คือ ระยะของการสื่อสาร การดักฟังจากความถี่ ล้วนแต่ส่งผลเสียให้กับระบบสื่อสารวิทยุคมนาคมระบบ ทรั้งค์ทั้งสิ้น

ความคิดเห็น ถ้าประเทศไทยนำระบบนี้มาใช้ให้ครอบคลุมทั้งประเทศ จะช่วยอำนวยความสะดวกได้มากขึ้นของทุกๆหน่วยงานในประเทศ ทำให้ประเทศของเราพัฒนาขึ้นในระดับหนึ่ง

ความคิดเห็น

  1. ถ้าประเทศไทยนำระบบนี้มาใช้ให้ครอบคลุมทั้งประเทศ จะช่วยอำนวยความสะดวกได้มากขึ้นของทุกๆหน่วยงานในประเทศ ทำให้ประเทศของเราพัฒนาขึ้นในระดับหนึ่ง

    ตอบลบ

แสดงความคิดเห็น

โพสต์ยอดนิยมจากบล็อกนี้

ระบบการจัดเก็บและเรียกคืนวัสดุอัตโนมัติAS/RS

เครื่องจักรระบบ NC DNC CNC

เกียรติศักดิ์046 เรื่องหุ่นยนต์